วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาษาอังกฤษ

โครงสร้างของ Question Tags

*หมายเหตุ Question Tags หากอยู่ในรูปปฏิเสธ (Negative Tag) จะต้องอยู่ในรูปย่อเท่านั้น เช่น aren’t (are not/am not), don’t (do not) shan’t (shall not), won’t (will not) และอื่นๆ

จุดประสงค์ของการใช้ Question Tags

เพื่อแสดงความมั่นใจ (confidence) หรือ ความไม่มั่นใจ (lack of confidence), ความสุภาพ (politeness), การเน้นย้ำ (emphasis), การประชดประชัน (irony) ซึ่งอาจมีความหมายคล้ายกับ “Am I right?” หรือ “Do you agree?” นั่นเอง
หลักการใช้ Question Tags

1. เมื่อประโยคขึ้นต้นเป็นประโยคบอกเล่า เราจะต้องใช้ Question Tags ในรูปปฏิเสธ (Negative Tag)
She loves shopping, doesn’t she?
They have a lot of friends, don’t they?
2. เมื่อประโยคขึ้นต้นเป็นประโยคปฏิเสธ เราจะต้องใช้ Question Tags ในรูปบอกเล่า (Positive Tag)
He doesn’t like to cook, does he?
We don’t want to go to school, do we?
3. เมื่อประโยคหลักมีกริยาแท้ (Main verb) เป็น Verb to have ให้ใช้ Verb to do มาสร้าง Question Tags
We have a lot of friends, don’t we?
She has a beautiful smile, doesn’t she?
* หาก have ในประโยคขึ้นต้น แปลว่า “มี” อาจจะใช้ Verb to do หรือ Verb to have มาสร้างเป็น Question Tags ก็ได้
4. เราสามารถนำ Auxiliary Verbs (กริยาช่วย) มาสร้าง Question Tags ได้ เช่น can, could, may , might, will, shall, ought to, should, V. to be , etc.

We should buy a house, shouldn’t we?
You ought to do your homework, oughtn’t you?
5. ประธานใน Question Tags ต้องเป็น I/You/We/They/He/She/It เท่านั้น
Somsak loves to go to the zoo, doesn’t he?
The kids are sleeping now, aren’t they?
ยกเว้น หากประธานเป็น “there” เราสามารถนำ “there” มาใช้เป็นประธานใน Question Tag ได้ เช่น
There are a lot of kids in your house, aren’t there?
6. คำว่า need (ต้องการ) และ dare (กล้าหาญ) สามารถใช้ Question Tags ได้โดยการใช้ Verb to do มาช่วย หรือ ใช้ need และ dare เลยก็ได้
7. เมื่อประโยคเป็นรูปแบบของคำสั่ง หรือ ขอร้อง ที่อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า (Positive Statement)
สามารถใช้ Question Tags ได้ทั้งในรูปบอกเล่า (Positive Tag) หรือ รูปปฏิเสธ (Negative Statement) โดยเรามักจะใช้ can, will และ would เข้ามาช่วยสร้างประโยคในส่วนของ Question Tags

Go to sleep, will you?
Stop laughing at me, won’t you?
Help me with this, can you?
8. หากประโยคขึ้นต้นด้วย Let's (Let us) เราจะใช้ Question Tags ในรูปของ “, shall we?” และหากประโยคขึ้นต้นเป็น Let + object+V.1 เราจะใช้ Question Tags ในรูปของ “, will you?” เช่น

Let’s go to the beach, shall we?
Let him go, will you?
9. หากประธานเป็น everyone, everybody, everything, no one, nobody, anybody, neither ให้เราใช้ theyในส่วนของ Question Tags

Everyone is smiling at you, aren’t they?
None of the students went to the school yesterday, did they?
10. หากประโยคประกอบด้วยคำที่มีความหมายเชิงปฏิเสธ (Negative meaning) เช่น seldom (ไม่ใคร่จะ), rarely (ไม่ใคร่จะ), scarcely (แทบจะไม่), hardly (เกือบไม่), barely (เกือบจะไม่) Question Tags จะต้องอยู่ในรูปของ Positive tags เท่านั้น

She scarcely seems to care, does she?
He rarely comes here, does he?
            -   I seldom got asleep, did I?
            -   Few students can solve the problems, can they?
            -  They hardly spoke to anyone, did they?

11. หากประโยคเป็นประโยคซับซ้อน (complex) เรามักจะใช้ Verb ในประโยคหลัก (Main Clause) ใน Question Tags ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการเน้นที่จะบอกหรือพูดถึงสิ่งใด

If I did my homework, I wouldn’t be punishedwould I?
He said he would talk to her, didn’t he?
I think we should go nowshouldn’t we?
วิธีการตอบประโยค Question Tags

เรามักใช้ yes หรือ no เข้ามาช่วยในการตอบ แล้วตามด้วย Subject (ประธาน) และ Auxiliary Verbs (กริยาช่วย) เช่น
She is beautiful, isn’t she?
Yes, she is. / No, she isn’t.
They didn’t study for the exam, did they?
Yes, they did. / No, they didn’t.
การออกเสียง
เราสามารถเปลี่ยนความหมายของประโยค Question Tags ได้โดยการ ขึ้นเสียงสูง หรือ ลงเสียงต่ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว หากเรา…
ขึ้นเสียงที่ท้ายประโยค จะ เปรียบเสมือน เรากำลังตั้งคำถามกับผู้สนทนาอีกฝ่ายด้วยความไม่แน่ใจ หรือ ต้องการถามความเห็นที่แท้จริงของผู้สนทนาอีกฝ่าย
ลงเสียงต่ำที่ท้ายประโยค จะ เปรียบเสมือน เราต้องการให้ผู้สนทนาอีกฝ่ายนั้นเห็นด้วยกับสิ่งที่เราพูด

ความซื่อสัตย์


ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น  คนฟังยิ่งมากยิ่งดี  ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย
การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้  แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์  รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง